เที่ยวมัณฑะเลย์ ดินแดนแห่งฝันของฤาษีแห่งเอเชีย

REMINDING ME: Mandalay, Myanmar

เมื่อครั้งที่มาถึง ก็ได้ค้นพบว่าการมา เที่ยวมัณฑะเลย์ นั้นต่างจากที่เราคิด ที่นี่เป็นเมืองใหญ่ ทันสมัย วุ่นวายจนน่าปวดหัว ทำให้ชวนคึดถึงเมืองก่อนๆที่ได้เดินทางมาอย่างจับใจ แหล่งท่อง เที่ยวมัณฑะเลย์ ค่อนข้ากระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ วิธีที่ถูกที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาคนเดียวคือการเช่ารถมอเตอร์ไซค์หรือใช้บริการรถรับจ้างสองล้อ เราเลือกอย่างหลังเพราะการขับรถเองในเมืองนี้ไม่ใช่เรื่องที่สนุก กับถนนที่ไม่มีป้ายบอกชัดเจน ทางวันเวย์ที่มีอยู่หลายจุด แถมหลายแยกไฟแดงก็ไม่มีสัญญาณไฟจราจร มันค่อนข้างเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับคนไม่คุ้นเคย อังมอคือพลขับที่เราเลือกใช้ตลอดสามวันที่อยู่ในการ เที่ยวมัณฑะเลย์

ท่าเรือแห่งมัณฑะเลย์ ที่คึกคักวุ่นวาย
เมืองมัณฑะเลย์ที่เจริญ วุ่นวาย ใหญ่กว่าที่นึกไว้เยอะ

สถานที่ท่อง เที่ยวมัณฑะเลย์ นั้นประกอบไปด้วยเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

ที่นักท่องเที่ยวต่างก็ไปเยี่ยมชม ทั้งเมืองอังวะ(Inwa)ที่เคยถูกใช้เป็นเมืองหลวงถึงห้าครั้ง หรือเมืองสะกาย(Sagaing)ที่เป็นเมืองหลวงในช่วงสั้นๆ มิงกุนหมู่บ้านเล็กๆที่มีอภิมหาเจดีย์ที่สร้างไม่เสร็จ เมืองอมรปุระ(Amarapura)ที่เคยเป็นเมืองหลวงเก่าอันมีสะพานไม้สักอูเบ็งที่ใช้ไม้ไปทั้งหมดถึง 1208 ต้นก่อนที่จะย้ายไปที่มัณฑะเลย์ อันเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายก่อนที่จะเสียเอกราชตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

มิงกุนหมู่บ้านเล็กๆที่มีอภิมหาเจดีย์

ที่ปกตินักท่องเที่ยวจะนั่งเรือไปเที่ยวกัน แต่เราให้อังมอขี่มอเตอร์ไซค์คันเก่าของเขาพาไปเที่ยว เผื่อที่จะได้จอดแวะตามที่ต่างๆตลอดเส้นทาง ซากอภิมหาเจดีย์มิงกุนที่ใหญ่โตเพื่อประดิษฐาน พระทันตธาตุที่ได้มาจากพระเจ้ากรุงจีน ดำเนินการก่อสร้างไปได้เพียง 7 ปีแต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ  พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคตหลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ไทยในศึก 9 ทัพ มหาเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ตามความมุ่งหวังของพระองค์จึงเสร็จเพียงฐาน การเกณฑ์แรงงานทาสชาวยะไข่จำนวนมากที่ยังคงเจ็บแค้นจากการเสียเอกราชและพระคู่บ้านคู่เมืองให้กับพม่านั้นกลับส่งผลร้ายที่ไม่สามารถทำให้สมดุลย์ได้กับแรงศรัทธาส่วนพระองค์

ท่าเรือมิงกุน ที่คึกคักไปด้วยแม่ค้าขายของที่ระลึก พวกเธอจะเดินตามตลอดทางจนเราแทบอ่อนใจ
ระฆังมิงกุน ที่ใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลกที่สามารถใช้งานได้จริง ผู้ออกแบบก่อสร้างก็ได้โดนพระเจ้าปดุงรับสั่งให้ประหารนายช่างทันทีที่สร้างเสร็จ ไม่ทรงต้องการให้มีใครสร้างระฆังเลียนแบบในภายหลังได้
ภายในระฆังมีร่องรอยคนมือบอนนานาชาติที่ไร้ยางอายต่อกฎหมายและสามัญสำนึก
เพียงฐานที่สูงถึง 50 เมตรได้รับความเสียหายอันเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2381
เจดีย์พญาเธียรดาน ที่เปรียบได้กับกับทัชมาฮาลแห่งลุ่มอิรวดี เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่มีต่อพระมเหสีชินพิวเม ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าบากะยีดอว์จะขึ้นครองราชย์

เมืองสะกายที่ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี

ตรงข้ามกับเมืองอังวะ เป็นเมืองที่มีวัดทางพุทธศาสนาที่สำคัญหลายแห่ง สร้างขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชาวไทยใหญ่ (ค.ศ. 1315–1364) เคยเป็นเมืองหลวงของพม่าระหว่างปี ค.ศ. 1760 ถึง 1763 ปกครองโดยพระเจ้ามังลอก จะเห็นวัดลดหลั่นอยู่ตามเนินเขาน่าตื่นตาตื่นใจ จะมีสำนักสงฆ์ สำเณรและแม่ชี กระจายอยู่มากมาย ความสนุกของที่นี่คือการเดินไปตามทางเล็กทางน้อยเพื่อไปตามวัดต่างๆ บริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยบันไดและทางเดินตัดไปตัดมา มีมุมสงบที่สวยงามที่ไม่สามารถพบเจอได้หากเดินทางแต่ด้วยรถตามทางถนน เราลงรถและชี้จุดเพื่อให้อังมอไปรอรับบนเขา บางแห่งก็เหนื่อยเอาเรื่องเหมือนกัน นอกจากที่เมืองอมรปุระแล้วที่นี่ก็ยังมีร่องรอยของเฉลยศึกชาวไทยที่ทิ้งไว้เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง“ลวดลายพันธุ์พฤกษาแบบอยุธยา”ที่อุโบสถวัดมหาเตงดอจี 

สำนักสงฆ์ตามทางเดิน ส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่าสวยงาม
ความเชื่อที่มีอยู่อย่างมากมาย นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่เป็นกุศโลบายในการสรรสร้างความดี
วัดอูมินตง
ภายในวิหารวัดอูมินตงที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
เจดีย์ซุน โอ ปง งา ชิน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่บนยอดเนินที่สูงสุดของ Sagaing Hil
เหล็กดัดน่ารักสีสดใสมีให้เห็นทั่วไป
ชื่อสถานที่จำไม่ได้แล้วแต่อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิตะกู
ซึ่งสถานที่นี้ใช้เป็นสถานที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง พระพุทธศาสนาเถรวาท

อังวะ เมืองหลวงที่กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ไม่ควรพลาดในการมา เที่ยวมัณฑเลย์

เป็นเมืองหลวงเก่าของพม่าถึง 5 ครั้งในช่วง 360 ปีระหว่าง ค.ศ. 1365 ถึง ค.ศ. 1842 ทั้งในสมัยราชวงศ์อังวะ ราชวงศ์ตองอู และราชวงศ์อลองพญา ตำแหน่งที่ตั้งเป็นจุดตัดระหว่างแม่น้ำอิรวดีกับแม่น้ำมยิแงในปัจจุบันแทบที่จะไม่เหลืออะไรไว้ซักเท่าไหร่ มีแหล่งท่องเที่ยวอย่างหอเอนเมืองอังวะ และวัดที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งอย่าง วัดบากายา วัดยานาดาซินเม วัดมหาอังยีบองซาน ภัยจากสงครามและการย้ายเมืองหลวง ในปี 1838 อังวะเจอแผ่นดินไหวทำให้เสียหายอย่างหนัก หลังจากนั้นก็ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง

หอคอยนันมยิน ที่ปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปด้านบนแล้ว ด้วยเรื่องความปลอดภัย
วัดมหาอังยีบองซาน
ภายในฐานของมหาวิหาร วัดมหาอังยีบองซาน
ด้านหน้าของวัดบากายา ที่บริเวณรอบๆมักจะมีน้ำท่วมขัง

เมืองอมรปุระ

ที่มีทะเลสาบตองตะมานมี สะพานอูเบ็ง (U Bein Bridge) สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก ที่พาดยาวไปอีกฝั่งสู่เจดีย์เจ๊าตอว์กยี ที่มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังฝีมือเชลยศึกชาวไทยหลงเหลืออยู่

ชาวบ้านลงจับปลากันอย่างคึกคัก
หากใครไม่อยากเดินก็สามารถใช้เรือข้ามฟากไปอีกฝั่งก็ได้
ยามหน้าแล้งน้ำจะลดทำให้เกิดพื้นที่ในการเพาะปลูกแถวสะพานกว้างมากขึ้น
สะพานสร้างจากไม้สักที่เหลือจากการรื้อพระราชวังเก่ากรุงอังวะ
พระฉันภัตตาหารเช้า ที่เมืองอมรปุระ

สถานที่เที่ยวอื่นๆในเมืองมัณฑะเลย์

ที่เที่ยวหลักๆอย่างพระราชวังมัณฑะเลย์ ที่มีประวัติอันน่าตื่นตาตื่นใจและร้อนแรง แต่ด้วยเหตุที่ทหารญี่ปุ่นใช้เป็นฐานที่ตั้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จึงทำให้โดนระเบิดเกิดเพลิงใหญ่เผาทำลายจนหมดสิ้น ทางการก็ได้พยายามที่จะจัดสิ่งปลูกสร้างจากฐานที่ตั้งเดิมเพื่อให้เกิดการจำลองในสถานที่จริงอย่างเต็มกำลัง แต่กลับเป็นที่เศร้าสร้อยคล้ายเสมือนฉากถ่ายหนัง จะเหลือเพียงวัดชเวนันดอร์ที่เมื่อก่อนพระราชมณเฑียรทอง แห่งนี้ได้อยู่ภายในเขตพระราชวัง เป็นที่นั้งสมาธิเจริญภาวนของพระเจ้ามินดง  แต่ภายหลังหมดรัชกาลพระเจ้ามินดงแล้ว พระเจ้าธีบอ ซึ่งขึ้นครองราชย์แทนได้ย้ายพระอารามมาไว้ยังจุดนี้ ซึ่งอยู่นอกกำแพงวัง และนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้วัดชเวนันดอว์รอดจากระเบิดและไฟไหม้ในครั้งนั้น

Mandalay Hills เป็นที่ชมพระอาทิตย์ตกที่คนเยอะมาก หากไปช้าตรงขอบแถวหน้าจะถูกจับจองเอาไว้หมดทั้งนักท่องเที่ยว ทั้งขาตั้งกล้อง แต่โดยส่วนตัวแล้วการเดินเล่นรอบๆจะสวยงามกว่า เพราะเมื่อมองออกไปทิวทัศน์ก็ไม่ได้มีอะไรมาประกอบกับพระอาทิตย์ให้สวยงามเหมือนอย่างในพุกามหรือมรัคอู

วัดมหามัยมุนี  ซึ่งมีพระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์หนัก 6.5 ตันถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่า ที่เป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ องค์พระมหามัยมุนีมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นรอยย่นตะปุ่มตะป่ำไปทัวทั้งองค์เป็นเวลาที่เนิ่นนานเป็นพันปี ซึ่งหากใครที่จะปิดทองต้องซื้อจากทางวัดเท่านั้นและต้องการตรวจซ้ำเพื่อป้องกันการใช้ทองคำเปลวที่ไม่บริสุทธิ์ไปปิดองค์พระ

วัดชเวนันดอร์ พระราชวังเก่าที่เหลือรอดมาจากระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
วัดชเวนันดอร์ พระตำหนักสร้างจากไม้สักทองทั้งหลังแกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงามทั้งภายในและภายนอก หลังคาทรงปราสาท 5 ชั้น
กับข้าว21อย่างที่ทานกันแบบบุฟเฟ่ต์ในราคา 60 บาท ร้านนี้น้องอังมอแนะนำ
พระอาทิตย์ตกที่ยอดเขามัณฑะเลย์
คนเยอะมากที่ขอบระเบียง
ที่ยอดเขามัณฑะเลย์ จะระยิบระยับสะท้อนแสงจากพระอาทิตย์สวยงามในยามเย็น
บวชเณรลูกแก้วที่วัดพระมหามุนี
ภายในวัดพระมหามุนี

มัณฑะเลย์เป็นสถานที่สำคัญทางเศรฐกิจในภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่น

โรงงานผลิตทองคำเปลว ที่มีผลิตภัณฑ์ทาหน้าผสมทานาคาที่ใช้แล้วหน้าตึง
ตลาดหยกที่คนเยอะจนท้อแท้เรื่องการหาที่จอดรถ

มีตลาดและแหล่งผลิตในภาคอุตสาหกรรมใหญ่หลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นหยก พระพุทธรูป ทองคำเปลว แกะสลักไม้ หิน การทอผ้า เครื่องจักสานและอื่นๆอีกมากมาย ที่กระจายตัวเป็นย่านๆให้ได้ไปเยี่ยมชมกันตามความสนใจ

เจดีย์หยกที่เพิ่งสร้างเสร็จ
แหล่งจักสานที่จะกระจายสินค้าไปตามแหล่งท่องเที่ยวตามที่ต่างๆ
งานแกะสลักไม้ก็สวยงามมาก

REMINDING YOU

การเดินทางท่อง เที่ยวมัณฑะเลย์

เราเดินทางจากพุกามมาที่มัณฑะเลย์ด้วยเรือ ซึ่งเป็นการเดินทางที่เราค่อนข้างประทับใจที่สุดในการมาพม่าในครั้งนี้

สามารถเดินทางในเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ จากหรือไป มัณฑะเลย์ ใช้เวลา 9-11 ชั่วโมง ราคาอยู่ที่ 18 – 42US$  ขึ้นอยู่กับความหรูหรา ซึ่งเรือส่วนมากจะออกจากเมืองยองอู

www.malikha-rivercruises.com

www.mgrgexpress.com

หากใครมีโอกาสได้ไป เที่ยวมัณฑะเลย์ แล้วอยากลองนั่งรถของอังมอ เราจะทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ด้านล่าง ถึงรถจะดูแย่มาก แต่การขับขี่แบบใจเย็นและระมัดระวังอย่างปลอดภัยของอังมอที่เราจะใช้เป็นข้อตั้งอันสำคัญที่จะแนะนำให้อุดหนุนคนๆมากกว่าความดีที่เรารู้สึกส่วนตัว

นามบัตรของอังมอ
Thanawat: REMINDER